วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 5
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 11 กุมภาพันธ์ 2558
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วันนี้เรียนเรื่อง การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ดังนี้
การฝึกเพิ่มเติม
- อบรมระยะสั้น , สัมมนา
-สื่อต่างๆ
-เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
-ครูต้องเรียนรู้ , มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
-รู้จักเด็กแต่ละคน
-มองเด็กให้เป็น “เด็ก”
• การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก
จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
•วุฒิภาวะ
•แรงจูงใจ
•โอกาส
•ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
•เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
• ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
• ครูต้องมีความสนใจเด็ก
• ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
• ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
• ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
• ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
• ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
• มีลักษณะง่ายๆ
• ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
• เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
• เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
• เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
• กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
• เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
• การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
• คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา
• ความยืดหยุ่น
• การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
• ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
• ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
• ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
• สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
• เด็กทุกคนสอนได้
• เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
• เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
• ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
• มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
• หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป
• ตอบสนองด้วยวาจา
• การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
• พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
• สัมผัสทางกาย เช่น การกอด
• ให้ความช่วยเหลือ , ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
• ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
• ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์
• ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท (prompting)
• ย่อยงาน
• ลำดับความยากง่ายของงาน
• การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
• การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
• สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
• วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
• สอนจากง่ายไปยาก
• ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
• ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
• ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
• ทีละขั้น ไม่เร่งรัด “ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่
ยิ่งดีเท่านั้น”
• ไม่ดุหรือตี
• พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ
หลายๆอย่างรวมกัน
• เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
• สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลังเด็กตักซุป
• การจับช้อน
• การตัก
• การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก
• การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดคาง
• การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู้ปาก
-ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
-ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
- เอาอุปกรณ์หรือขอเล่นออกไปจากเด็ก
-เอาเด็กออกจากการเล่น
วันนี้อาจารย์ให้วาดภาพมือที่ใส่ถุงมือ
ดังนี้
ประเมินตนเอง : วันนี้แต่งกกายเรียบร้อย และตั้งใจเรียน เข้าเรียนก่อนเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์สั่ง ให้ความร่วมมือทุกครั้งในการตอบคำถามของอาจารย์
วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 4
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 4 กุมภาพันธ์ 2558
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 3
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 28 มกราคม 2558
วันนี้เรียนเรื่อง
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม โดยมีเนื้อหาดังนี้
1.ครูไม่ควรวินิจฉัย
เพราะ การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
2.ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
เพราะจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไปและเด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
3.ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
เพราะพ่อแม่ของเด็กพิเศษ
มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหาพ่อแม่ไม่ต้องการให้และครูก็ไม่ควรมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้วครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก
แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง
4.ครูทำอะไรบ้าง
ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัยสังเกตเด็กอย่าง มีระบบมีการจดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
ในวันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาวาดภาพดอกไม้ ซึ่งเป็น “ดอกกุหลาบ” และยังไม่พอเป็นดอกกุหลาบ
2 สีอีกด้วย เน้น สอง สี และให้นักศึกษาวาดดอกไม้ให้เหมือนดอกจริง
และแต่งเติมให้ดอกไม้เหมือนจริง
ดังภาพ
ในรูปภาพดอกกุหลาบที่วาดนั้น อาจารย์ให้เขียนว่าเราเห็นอะไรในภาพบ้าง
และสิ่งที่ดิฉันเห็นก็คือ ความสดชื่น ความงดงาม
ความเป็นตัวของตัวเองและภาพลักที่สวยงามมีความผสมผสานกันระหว่างสีสองสีทำให้ดูสวยงามและแปลกตา
จากนั้นอาจารย์ก็ให้ร้องเพลง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งเเรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
การประเมินผล
ประเมินตนเอง วันนี้แต่งกายเรียบร้อยและตั้งใจทำงาน
ถึงจะวาดออกมาได้ไม่ค่อยเหมือนแต่ก็
ทำได้ดีแล้วและรู้สึกภูมิใจ
ทำได้ดีแล้วและรู้สึกภูมิใจ
บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 2
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 21 มกราคม 2558
เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
รูปแบบการจัดการศึกษา มีดังนี้
มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกัน
และกันเด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุก
อย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุก
คน
และกันเด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุก
อย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุก
คน
การศึกษาสำหรับทุกคน
รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่าง
เหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับ
ซึ่งกันและกัน
เหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับ
ซึ่งกันและกัน
ช่วงปฐมวัยเป็นวัยทองแห่งการเรียนรู้ สอนได้ และเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
อาจารย์ให้ทำคำถามท้ายบท เพื่อเป็นการทบทวน สิ่งที่เรียนในคาบว่าตั้งใจฟังรึป่าว และเข้าใจในเรื่อง
อะไรบ้าง มีคำถามดังนี้
อะไรบ้าง มีคำถามดังนี้
( ผู้แต่ง อ. ศรีนวล รัตนสุวรรณ)
นมเป็นอาหารดี มีคุณค่าต่อร่างกาย
ดื่มแล้วชื่นใจ ร่างกายแข็งแรง
ยังมีนมถั่วเหลือง ดื่มได้ดีและไม่แพง
ดื่มแล้วชื่นใจ ร่างกายแข็งแรง
เพลง อาบน้ำ
อาบน้ำซู่ซ่า ล้างหน้าล้างตา
ฟอกสบู่ถูตัว ชำระเหลื่อไคล
ราดน้ำให้ทั่ว เสร็จแล้วเช็ดตัว
อย่าให้ขุ่นมัว สุขกายสบายใจ
เพลง แปรงฟัน
ตื่นเช้าเราแปรง
กินอาหารแล้วเราแปรงฟัน
ก่อนนอนเราแปรงฟัน
ฟันสะอาดขาวเป็นเงางาม
แปรงฟันที่ถูกวิธี ดูซิต้องแปรงขึ้นลง
แปรงฟันที่ถูกวิธี ดูซิต้องแปรงขึ้นลง
เพลง พี่น้องกัน
บ้านของฉันอยู่ด้วยกันมากหลาย
พ่อ แม่ ปู่ ย่า ลุง ป้า ตา ยาย
มีทั้งน้า อา พี่และน้องมากมาย
ทุกคนสุขสบาย เราเป็นพี่น้องกัน
เพลง มาโรงเรียน
เรามาโรงเรียน เราเขียนเราอ่าน
ครูเล่านิทานสนุกถูกใจ
เราเรียนเราเล่น เราเป็นสุขใจ
ร่าเริงแจ่มใสเมื่อมาโรงเรียน
การประเมินผล
;;
Subscribe to:
บทความ (Atom)